การปรับตัวและรับมือของภาคธุรกิจ ในยุคโควิด-19 กำลังระบาด

ข่าวเศรษฐกิจทั่วไป

ยุคโควิด คือ ยุคที่ยังไม่มีความแน่ชัด ว่าโรคนี้จะเกิดถึงเมื่อไร จะมีวัคซีนเมื่อไร วัคซีนที่ผลิตขึ้นมาจะเพียงพอกับประชากรจำนวนมหาศาลของโลกหรือไม่ ดังนั้นภาคธุรกิจจึงต้องมีการเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ โดยในบทความนี้จะเป็นวิธีการปรับตัวของภาคธุรกิจเพียงตัวอย่างบางส่วน เริ่มจาก

            1.ภาคธุรกิจต้องประเมินสถานการณ์ทันการณ์ ปรับตัวโดยการประเมินสถานการณ์จากเดิมที่เคยประเมินเป็นไตรมาสก็ควรร่นระยะเวลาการประเมินให้สั้นลง เพราะสถานการณ์ในปัจจุบันนี้พบว่าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่าง กรณีจังหวัดระยองที่ต้องชะลอตัวจากการท่องเที่ยวจากข่าวทหารอียิปต์ที่เกิดขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจโรงแรมจากเดิมที่มีวันหยุดยาวตามการประเมินจะมีรายได้เข้ามาเป็นจำนวนมาก กลายเป็นต้องหยุดชะงักตัวลงเพราะยอดการจองที่ยกเลิกหรือเลื่อนออกไป

           

2.ภาคธุรกิจต้องเปลี่ยนเป็น multi-function ในที่นี่หมายถึงองค์กรสามารถปรับเปลี่ยนบทบาทได้ จากเดิมที่เคยเป็นผู้ผลิตก็ต้องผันตัวมาเป็นผู้ขายด้วย หรือ อย่างกรณี SCB ที่เดิมธุรกิจหลักๆ คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ก็ผันตัวมาเปิด “Robinhood” แอปพลิเคชั่น Food Delivery ในข้อนี้รวมถึงคนในองค์กรด้วย 1 คน 1 หน้าที่มักใช้ไม่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะการจ้างงานก็ต้องคุ้มค่ามากที่สุดเช่นกัน

           

3.ภาคธุรกิจต้องช่วยเหลือกัน อย่างธุรกิจขนาดใหญ่ก็ต้องเอื้อแก่ธุรกิจขนาดเล็กเพื่อความอยู่รอดไปด้วยกัน เช่น กรณีร้านค้าเช่า ในช่วงที่ผ่านมาก็มีหลายๆ สถานที่เช่าที่ลดหรือไม่เก็บค่าเช่าจากผู้ขาย เพื่อให้ผู้ขายสามารถเช่าต่อได้ เมื่อผู้ขายเช่าต่อย่อมส่งผลดีในระยะยาวแก่ผู้ให้เช้า

           

4.ภาคธุรกิจต้องรักษาสภาพคล่องไว้ให้ได้มากที่สุด เช่น การสั่งซื้อวัตถุดิบในการผลิตจากเดิมสั่งซื้อ 5 กิโลกรัม จะได้ราคากิโลกรัมละ 2000 บาท แต่หากสั่งซื้อที่ 1 กิโลกรัมราคาจะอยู่ที่ 3000 บาท ได้ลดลงถึง 1000 บาท ใน 1 กิโลกรัม เดิมเราเคยสั่ง 5 กิโลกรัม ขายหมดใน 3 สัปดาห์ แต่หากเราสั่งมาตอนนี้ 5 กิโลกรัมแล้ววัตถุดิบตัวนี้ไม่ถูกนำไปใช้ย่อมหรือใช้ไม่หมด ย่อมหมายถึงเราต้องมีสถานที่สำหรับเก็บวัตถุดิบดังกล่าว รวมถึงคนเฝ้าวัตถุดิบ เมื่อเราต้องการเงินสดเพื่อใช้ในธุรกิจก็พบว่าเรามีเพียงวัตถุดิบไม่มีสภาพคล่องในการใช้จ่าย

            อย่างไรก็ดีสิ่งที่ผู้เขียนกล่าวมาข้างต้นอาจไม่สามารถใช้ได้ในทุกธุรกิจ จึงควรนำเคล็ดลับดีๆ เหล่านี้ไปไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ

#ข่าวเศรษฐกิจ #ข่าวธุรกิจ