ฟองสบู่แตก ที่ถึงจะไม่ใช่นักลงทุนมืออาชีพ หรืออาจจะไม่เคยเข้าสู่ตลาดการลงทุนเลยด้วยซ้ำ แต่ก็ต้องเคยได้ยินคำว่า “ฟองสบู่แตก” กันมาบ้างไม่มากก็น้อย เพราะมันเป็นสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนในสังคม ไม่ใช่เพียงแค่กลุ่มของนักลงทุนเท่านั้น ปรากฎการณ์อันโด่งดังที่เกิดขึ้นใกล้ตัวเรามากที่สุดก็คือ ฟองสบู่ในปี 40 หลายคนล้มละลายภายในชั่วข้ามคืน หลายคนไม่อาจฟื้นตัวขึ้นมาได้ใหม่ กลายเป็นฝันร้ายที่ยังจำได้มาจนถึงวันนี้

ฟองสบู่แตก ในปี 40 หลายคนล้มละลายภายในชั่วข้ามคืน หลายคนไม่อาจฟื้นตัวกลายเป็นฝันร้ายที่ยังจำได้มาจนถึงวันนี้
หากคิดว่านั่นคือครั้งเดียวที่เกิดฟองสบู่แตก แล้วมันก็ไม่น่าจะเกิดได้อีกในช่วงชีวิตนี้ของเรา ก็แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจสภาวะนั้นจริงๆ เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมาก็ยังมีฟองสบู่เกิดขึ้นอีกหลายหน เพียงแต่ไม่ได้เป็นวงกว้างมากเท่าเดิม จะอยู่ในบางกลุ่มอุตสาหกรรมเท่านั้นเอง เหตุผลของการเกิดฟองสบู่ก็มีหลายปัจจัย แต่ที่มีน้ำหนักมากที่สุดก็เห็นจะเป็นกลุ่มนักลงทุนนี่เอง

ตามธรรมชาติของนักลงทุน เมื่อเห็นช่องทางทำเงินตรงไหนน่าลงทุนเพื่อทำกำไร ก็จะกระโดดเข้าไปร่วมลงเงินและลงแรงด้วย หวังเอาผลตอบแทนเป็นกอบเป็นกำตามแผนที่คาดไว้ เมื่อมีเม็ดเงินหนุนเข้าไปในประเภทการลงทุนอันหนึ่งอันใดมากเกินไป โดยไม่มีพื้นฐานที่ดีมากรองรับเลย สุดท้ายก็กลายเป็นฟองสบู่แตก ไม่มีทางที่มันจะคงสภาพนั้นไปได้ตลอด ตัวอย่างเช่น ยุคหนึ่งจะมีความเฟื่องฟูของคอนโดมิเนียมอย่างมาก ก็มีหลายบริษัทลงมาจับตลาดตรงนี้ จนวันหนึ่งมันมีมากเกินไป ก็นับว่าเป็นภาวะฟองสบู่ของอสังหาด้วยเหมือนกัน

เมื่อรู้อย่างนี้เราก็ต้องป้องกันความเสียหายของตัวเอง ด้วยการหมั่นจับสัญญาณของฟองสบู่แตกเอาไว้ให้ดี สินทรัพย์ไหนที่มีราคาสูงเกินไป แล้วคนส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมนั้นล้วนมองว่ามันเป็นทิศทางที่ดีมากในการลงทุน มีการโยกย้ายเงินไปลงในระบบนั้นมากขึ้น ทั้งในรูปแบบของเงินเย็นและเงินกู้ ให้เตรียมพร้อมไว้ได้เลยว่าฟองสบู่อาจจะมาในไม่ช้านี้
ติดตามข่าวสารอื่น ๆ อีกมากมาย ข่าวตลาดหุ้น และ หุ้นพื้นฐานดีเขาดูกันอย่างไร จุดไหนบ้างที่ต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ