การบริหารเงินฉบับฟรีแลนซ์

เทคนิค การบริหารเงินฉบับฟรีแลนซ์ ให้ใช้ได้ตลอดทั้งเดือน บอกเลยว่าน่าสนใจมาก ๆ

ข่าวเศรษฐกิจทั่วไป ธุรกิจที่น่าสนใจ

               การบริหารเงินฉบับฟรีแลนซ์ สิ่งที่ต้องแลกมากับความอิสระและความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตของชาวฟรีแลนซ์ก็คือ รายได้ที่มันไม่แน่นอนเอาเสียเลย บางทีทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ยังไม่ได้เงิน ต้องถือเครดิตต่อไปอีกเดือน บางที่ 2-3 เดือนก็ยังมี ลูกค้าที่จ่ายเงินเร็วก็ดันให้ค่าแรงต่ำ คนที่ทำงานอิสระแบบนี้จึงมักจะมีปัญหาเรื่องเงินพอสมควร ช่วงไหนที่มีเงินถุงเงินถังก็คล้ายว่าจะรวยไปเลย แต่ช่วยไหนที่เงินไม่เข้า แค่จะซื้อมาม่าก็ยังแอบเสียดาย ถ้าอยากหลุดจากวงจรแบบนี้ก็ต้องบริหารการเงินกันใหม่ทั้งหมด

การบริหารเงินฉบับฟรีแลนซ์

แนะนำ การบริหารเงินฉบับฟรีแลนซ์ กับเคล็ดลับการจัดการเงินของคุณ ให้มีกินมีใช้ตลอด

คำนวณค่าใช้จ่ายประจำเดือนเสียก่อน

            ส่วนมากแล้วคนทำงานแบบฟรีแลนซ์มักจะไม่ค่อยรู้ว่าตัวเองใช้เงินเท่าไรต่อเดือน คือได้รับเงินค่าจ้างมาเมื่อไรก็ใช้ เหลือเก็บบ้าง เหลือซื้อของฟุ่มเฟือยบ้าง มารู้ตัวอีกทีก็พบว่าการเงินย่ำแย่ลงเรื่อยๆ ต้องแก้ด้วยการสำรวจตัวเองว่ารายจ่ายอะไรบ้างที่เราต้องจ่ายเป็นประจำ เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าเช่าบ้าน เป็นต้น แล้วก็ดูว่าค่าใช้จ่ายส่วนอื่นอยู่ที่ประมาณเท่าไร รวมเอาไว้ให้ได้เป็นตัวเลขที่แน่ชัด

เทคนิคการบริหารเงินฉบับฟรีแลนซ์
handsome hipster modern man designer working home using laptop at home

ตั้งเป้าหมายกับการสร้างรายได้

            เมื่อรู้แล้วว่าเราใช้เงินต่อเดือนอยู่ที่เท่าไร ก็ให้โยงไปถึงเรื่องงานฟรีแลนซ์ที่เรารับมาทำในแต่ละเดือน คำนวณแล้วมันครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือนแล้วหรือยัง ถ้ายังก็ต้องเร่งหาทางสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพราะเราไม่อาจลดรายจ่ายลงไปได้มากกว่านี้เท่าไร พร้อมกับจัดตารางงานให้มีเงินไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องทุกเดือนด้วย

บริหารเงินฉบับฟรีแลนซ์

ต้องมีกระเป๋สำรองเผื่อฉุกเฉินเสมอ

            ในช่วงแรกของการวางแผน เงินที่ได้จากงานฟรีแลนซ์ซึ่งเป็นส่วนเกินจากค่าใช้จ่าย ให้เอาไปเก็บที่กระเป๋าสำรองเผื่อฉุกเฉินก่อน อย่าพึ่งเอาไปใช้จ่ายตามใจชอบ วงเงินที่ควรมีติดตัวไว้จะเท่ากับค่าใช้จ่ายรายเดือนของเรา 3 เดือนเป็นอย่างน้อย ตรงนี้จะเป็นหลักประกันให้เราในจังหวะที่บังเอิญไม่มีงานเลย หรือเจอเคสที่ลูกค้าดึงยื้อเวลาการจ่ายเงินออกไป และเมื่อไรที่นำเงินออกมาใช้แล้ว ก็อย่าลืมเติมเงินกลับเข้าไปด้วย

ติดตามข่าวสารอื่น ๆ อีกมากมาย ข่าวการลงทุน และ วางแผนการเงินก่อนถึงวัยเกษียณ สิ่งที่ต้องคิดเพื่อจะพอเลี้ยงชีพของคุณจริง ๆ