ไม่ขายเท่ากับไม่ขาดทุน ไม่ใช่แค่นักลงทุนหน้าใหม่เท่านั้นที่ยึดถือความเชื่อผิด ๆ แบบนี้ คนที่อยู่ในตลาดหุ้นมานาน ก็ยังมีอีกมากนักที่คิดว่าการเล่นหุ้นนั้น ถ้าอดทนได้มากพอก็จะได้กำไรเสมอ เพราะเมื่อไม่ขายก็เท่ากับไม่ขาดทุน คำถามก็คือ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นที่ถือไว้ราคาจะกลับมาจนเราทำกำไรได้ หรือต่อให้กลับมาจริงมันต้องกินระยะเวลานานเท่าไร หากเราไม่รู้จักการคัตลอสเลย เราจะขาดทุนทั้งที่ยังไม่ได้ขายหุ้น ดังนี้

ไม่ขายเท่ากับไม่ขาดทุน คำนี้ใช้ได้จริงหรือไม่ สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ต้องศึกษาไว้
ขาดทุนเพราะเสียโอกาส
บางโอกาสในตลาดหุ้นมันมาครั้งเดียวแล้วก็ไป ไม่กลับมาอีกเป็นหนที่ 2 คนที่ยังไม่ยอมขายเพื่อให้ไม่ขาดทุน ก็จะต้องแบกรับความเสี่ยงที่เงินจะจม แล้วเสียโอกาสในการเข้าซื้อหุ้นคุณภาพดีที่ราคากำลังจะวิ่งไปไกล หรือถ้าคิดว่ามีเงินถุงเงินถัง อันนั้นก็ไม่ว่ากัน แต่ก็ต้องถามตัวเองด้วยว่าจะต้องเติมเงินเข้าพอร์ตอีกเท่าไรถึงจะพอ

ขาดทุนเพราะหุ้นเสีย
ก็มีเหมือนกันที่หุ้นบางตัวมีสภาพย่ำแย่เหลือเกิน แต่ทำการปั่นราคาขึ้นไปจนหลายคนตาลุกวาว อดรนทนไม่ได้ต้องเอาเงินเข้าซื้อ สุดท้ายราคาหุ้นร่วงราวกับห่าฝน คนถือก็ไม่อยากขาย คิดว่าจะไม่ขาดทุน แล้วก็เฝ้าหวังว่าสักวันมันจะกลับขึ้นมาราคาเดิมหรือมากกว่า หลายปีผ่านไปยังอยู่ที่เดิม ถึงตอนนั้นก็ยิ่งไม่กล้าขายหนักขึ้นไปอีก ด้วยจำนวนเงินที่ขาดทุนมากเหลือเกินแล้ว

ขาดทุนเพราะค่าเงิน
สิ่งที่น่าดีใจสำหรับคนมีแนวคิดไม่ขายเท่ากับไม่ขาดทุนก็คือ วันหนึ่งหุ้นในมือก็มีราคาสูงขึ้นจนเลยจุดที่ถืออยู่ได้จริง พอขายก็ได้กำไรติดมือมานิดหน่อย หลงดีใจไปว่าเอาเงินคืนได้แล้ว แต่ลืมคิดเรื่องระยะเวลาที่ผ่านไปว่ามันมากน้อยแค่ไหน หุ้นบางตัวต้องค้างอยู่ในพอร์ต 3-4 ปี ตอนนั้นค่าเงินเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างแล้ว เผลอๆ กำไรที่ได้มายังไม่คุ้มกับเงินต้นที่ลงไปเลย
ติดตามข่าวสารอื่น ๆ อีกมากมาย ข่าวการลงทุน และ แอพพลิเคชั่น HinakkoExpense สำหรับ ios กับการตอบโจทย์ผู้คนที่บริหารรายรับ รายจ่าย